วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ไวรัสคอมพิวเตอร์และโปรแกรมไม่พึงประสงค์


ไวรัสคอมพิวเตอร์และโปรแกรมไม่พึงประสงค์


1. ไวรัสคอมพิวเตอร์ หรือโปรแกรมที่มีเจตนาไม่ดีต่อคอมพิวเตอร์  คืออะไร

   โปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์ 
    ขณะใช้งานอินเทอร์เน็ต มักมีโปรแกรมที่ไม่พึงประสงค์แฝงมากับข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โปรแกรมลักษณะนี้เรียกว่า มัลแวร์( malware ) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทำลาย หรือ รบกวนระบบคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งออกได้หลายชนิด เช่น

    ไวรัส ( virus ) เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เขียนขึ้นเพื่อสร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้งานและอาจร้ายแรงถึงขั้นทำลายระบบคอมพิวเตอร์ให้เสียหายทั้งระบบ โดยจะทำการแนบโปรแกรมแปลกปลอมเข้าไปกับโปรแกรมอื่น แล้วแพร่กระจายตัวเองจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ โดยผ่านสื่อบันทึกข้อมูล เช่น แผ่นบันทึก แฟลชไดรฟ์ หรือผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

    เวิร์ม ( worm ) หรือหนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่สามารถคัดลอกตัวเองแล้วส่งไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทันที โดยอาศัยการเจาะผ่านช่องโหว่ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือ อินเทอร์เน็ตที่ไม่มีการป้องกันที่ดีพอ โดยจะเข้าไปกีดขวางการทำงานของระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ช้าลง หรือ หยุดทำงาน

    ม้าโทรจัน ( trojan horse ) เป็นโปรแกรมแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยการแอบแฝงตัวเองว่าเป็นโปรแกรมอื่น เช่น การหลอกให้ผู้ใช้เข้าใจว่าเป็นโปรแกรมเกม หรือ โปรแกรมสกรีนเซิร์ฟเวอร์ ที่ให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดฟรีจากอินเทอร์เน็ต เมื่อผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรมนี้เข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์แล้ว อาจจะมีไวรัสซึ่งติดมากับม้าโทรจันนี้เข้าไปทำความเสียหายให้กับระบบคอมพิวเตอร์ได้

    สปายแวร์ ( spyware ) เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาให้คอยติดตาม บันทึกข้อมูลส่วนบุคคล รายงานข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้แต่ละคนบนอินเทอร์เน็ต หรือ ทำการเปลี่ยนการตั้งค่าของโปรแกรมเบราว์เซอร์ใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดความรำคาญ และ ทำให้ประสิทธิภาพให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ช้าลง เช่น คีย์ล๊อคเกอร์ ( key-logger) เป็นสปายแวร์ประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลการกดแป้นคีย์บอร์ดของผู้ใช้ ข้อมูลที่จัดเก็บจะถูกส่งผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อใช้ก่ออาชญากรรมในรูปแบบต่างๆ ได้

    แอดแวร์ ( adware ) เป็นโปรแกรมแอบแฝงที่เมื่อโปรแกรมได้รับการดาวน์โหลดหรือมีการติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์เรียบร้อยแล้ว จะแสดงหน้าต่าง ป๊อปอัพ ( pop – up ) ที่มีการโฆษณาสินค้าออกมาเป็นระยะๆ โดยอัตโนมัติ

    สแปม ( spam ) เป็นการใช้ระบบส่งอีเมลในการส่งข้อความที่ไม่พึงประสงค์ ให้กับผู้ใช้เป็นจำนวนมาก สแปมที่พบบ่อย คือการส่งข้อความโฆษณาขายสินค้า บริการ ท่องเที่ยว ชักชวนประกอบอาชีพที่มีรายได้สูง ผ่านระบบอีเมลที่เรียกว่า เมลขยะ ( junk mail ) นอกจากนี้อาจมีการส่งผ่านสื่ออื่น เช่น การส่งสารทันที โทรศัพท์เคลื่อนที่ เกมออนไลน์ โปรแกรมค้นหา บล็อก หรือ วิกิ ซึ่งส่งผลให้เกิดการรบกวนการใช้สื่อสารเหล่านั้น


 2.     บอกชื่อเครื่องมือที่ใช้ในการป้องกันและกำจัดโปรแกรมไม่พึงประสงค์


          Kaspersky โปรแกรมป้องกันไวรัสที่หลายคนคุ้นเคยและได้รับความนิยมในเรื่องของการป้องกันไวรัสที่มีคุณภาพ Kaspersky ถือเป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีฟีเจอร์การทำงาน ครอบคลุมการปกป้องคอมพิวเตอร์จากไวรัส ด้วยคุณสมบัติป้องกันแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส, สปายแวร์, มัลแวร์ , โทรจัน, เวิร์ม, rootkist, botnets เป็นต้น และเสริมความแข็งแรงด้วยฟีเจอร์ Firewall เพื่อป้องกันการโจมตีจากแฮกเกอร์ สามารถไปดาวน์โหลด ได้ที่ Kaspersky Lab โดยโปรแกรมเป็นแบบฟรี  Trial สามารถใช้งานได้ 30 วัน  
 
2. Avast Free Full Antivirus

          Avast Antivirus โปรแกรมป้องกันไวรัสอีกตัว ที่หันมาพัฒนาแอนตี้ไวรัสแบบฟรีแวร์อย่างต่อเนื่อง มาพร้อมกับคุณสมบัติป้องกันไวรัสพื้นฐานและความปลอดภัยกับการทำงานรวดเร็ว ป้องกันไวรัส สปายแวร์ และยังมีเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล การรักษาความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ สามารถใช้งานได้บนระบบปฏิบัติการ 32-bit และ 64-bit 

 3. Norton AntiVirus 2012

          Norton โปรแกรมป้องกันไวรัสที่โลดแล่นอยู่ในวงการแอนตี้ไวรัสมานาน ถึงแม้จะถูกผู้พัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น ๆ ยึดตำแหน่งไปครอง แต่ทาง Norton ก็ยังคงพัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสของตัวเองให้ทันยุคทันสมัย เพิ่มคุณสมบัติการทำงานของโปรแกรมใหม่ ๆ เช่น เชื่อมต่อกับเฟซบุ๊กเพื่อตรวจสอบความปลอดภัย จัดการมัลแวร์ที่แอบแฝงอยู่บนเว็บไซต์ต่าง ๆ เป็นต้น Norton ยังคงให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานทุกระดับ หากสนใจสามารถดาวน์โหลด Norton AntiVirus 2012 เวอร์ชั่นล่าสุดแบบ  Trial ทดลองใช้งาน 30 วัน

 4. Microsoft Security Essentials

          Microsoft Security Essentials หรือ MSE โปรแกรมป้องกันไวรัสหน้าใหม่จากไมโครซอฟท์ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่นาน และกลายเป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสยอดนิยมเพราะเป็นฟรีแวร์ที่แจกจ่ายฟรีไม่มีข้อผูกมัด  คุณสมบัติต่าง ๆ ของ Microsoft Security Essentials ก็ไม่ได้น้อยหน้าโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น ๆ มาพร้อมกับการปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณจากไวรัส สปายแวร์ มัลแวร์และอื่น ๆ ที่เป็นอันตรายด้วยการรักษาความปลอดภัยและการทำงานที่มีประสิทธิภาพ 

 5. AVG Free Anti-Virus

          AVG โปรแกรมป้องกันไวรัสที่ดีอีกตัวนึงในตลาดโปรแกรมป้องกันไวรัส ด้วยความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน 98 ล้านคนทั่วโลก AVG มีการพัฒนาที่ทันสมัยอยู่เสมอและที่สำคัญเป็นโปรแกรมฟรีแวร์ ที่แจกจ่ายให้ใช้งานกันแบบฟรี ๆ สำหรับคุณสมบัติการป้องกันไวรัสเรียกได้ว่าครอบคลุมการทำงาน ช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ของคุณ ให้ห่างไกลไวรัส สปายแวร์ มัลแวร์ รวมไปถึงตรวจสอบและรักษาความปลอดภัยการใช้งานเว็บเครือข่ายสังคมออนไลน์ 

 6. Comodo Free Antivirus

          Comodo Antivirus ถือเป็นโปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีรางวัลการันตีการป้องกันไวรัสที่มีคุณภาพ นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญกับผู้ใช้งานโดยออก Comodo Free Antivirus เป็นโปรแกรมฟรีแวร์แต่มาพร้อมกับคุณภาพและคุณสมบัติการป้องกันไวรัส ไม่ว่าจะเป็น ไวรัส โทรจัน สปายแวร์ และ Firewall ที่แข็งแกร่ง การรักษาความปลอดภัยที่แข็งแรง หากกำลังมองหาโปรแกรมป้องกันไวรัสที่พร้อมไปด้วยฟีเจอร์ต่าง ๆ แบบตัวเดียว Comodo Antivirus เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่คุณไม่ควรมองข้าม 

 7. McAfee Free Antivirus

          McAfee โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมในซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยและเป็นโปรแกรมป้องไวรัสที่มีคุณสมบัติโดดเด่นที่ทำให้การป้องกันไวรัส สแกนรักษาความปลอดภัยที่น่าสนใจ ด้วยอินเตอร์เฟซของโปรแกรมที่ใช้งานง่าย ทำให้ผู้ใช้งานหลายคนจึงเลือกใช้งาน  McAfee เป็นโปรแกรมป้องกันไวรัส ปกป้องข้อมูลสำคัญประจำคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเป็นแบบฟรี Trial ทดลองใช้งาน 30 วัน

 8. Trend Micro Free Full version Antivirus

          Trend Micro เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมป้องไวรัสและป้องกันสปายแวร์ที่ดีอีกตัว พร้อมกับคุณสมบัติการทำงานที่ครอบคลุมการใช้งาน สามารถทำงานร่วมกับ Windows XP/ Windows7 และ Windows Vista ได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกเหนือจากนี้แล้ว Trend Micro ก็ยังพัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสสำหรับโทรศัพท์ด้วยความใส่ใจผู้ใช้งานทุกรูปแบบ โปรแกรมเป็นแบบฟรี Trial ทดลองใช้งาน 30 วัน

 9. Avira Free Antivirus
          Avira Antivirus หรือที่รู้จักกัน คือ "ร่มแดง" เนื่องจาก โปรแกรมนี้ใช้สัญลักษณ์ ร่มแดง นั้นเอง โปรแกรมตัวนี้ถือได้ว่าเป็นซอฟต์แวร์ แอนตี้ไวรัสที่มีคุณภาพและได้รับความนิยมอย่างมาก กับประสิทธิภาพการทำงานและเทคโนโลยีชั้นสูงที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก ความสามารถไม่ได้น้อยหน้าโปรแกรมป้องกันไวรัสเจ้าอื่น ๆ ด้วยการป้องกันไวรัสได้มากกว่า 300,000 ชนิดและมีการอัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ทันไวรัสใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และการใช้งานที่ง่ายรวมไปถึงใช้ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์น้อย เหมาะสำหรับผู้ใช้งานที่มีคอมพิวเตอร์รุ่นเก่า ๆ

 10. BitDefender Free Edition

          BitDefender โปรแกรมป้องกันไวรัสที่มีคุณสมบัติครอบคลุมมากที่สุดทำให้การใช้งานทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ค่อนข้างเยอะ จึงทำให้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก แต่ถ้าแลกกับคุณภาพและประสิทธิภาพการทำงานที่ได้นั้น ถือว่า BitDefender ทำงานได้ดีมากทีเดียว ด้วยฟีเจอร์การทำงาน รวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่เข้ามาเสริมทัพ และข่าวดีก็คือ BitDefender ได้ออกโปรแกรมป้องกันไวรัสแบบฟรีแวร์ มาในชื่อ BitDefender Free Edition ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติการทำงานและป้องกันไวรัสขั้นพื้นฐานและมีประสิทธิภาพป้องกันในระดับนึง 
 
3. ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับโปรแกรมป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์เช่น nod32

โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบหลักๆ คือ
  1. แอนติไวรัส (Anti-Virus) เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
  2. แอนติสปายแวร์ (Anti-Spyware) เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็กเกอร์ รวมถึงการกำจัด Adsware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย
โปรแกรมป้องกันไวรัสจะค้นหาและทำลายไวรัสที่ไฟล์โดยตรง แต่ในทุกๆวันจะมีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมาเสมอ ทำให้เราต้องอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย โดยแอนติไวรัสจะมีหลายรูปแบบตามบริษัทกันไปและแต่ละบริษัทจะมีการอัปเดตและการป้องกันไม่เหมือนกัน แต่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวไม่ควรมีแอนติไวรัส 2 โปรแกรมเพราะจะทำให้โปรแกรมขัดแย้งกันเองจนไม่สามารถใช้งานได้

3.1 คุณสมบัติเฉพาะ หรือความสามารถในการทำงาน 

   วิธีการใช้งานระบบสแกนตามคำขอ (On-Demand Scanner) 
ระบบสแกน (ตามคำขอ) ของ NOD32 ทำหน้าที่สแกนเป้าหมายที่ต้องการตามคำขอของผู้ใช้ ปุ่มด้านล่างของหน้าต่างระบบสแกนของ NOD32 ( ตามคำขอ) มีคุณสมบัติการใช้งานดังนี้ 

- ปุ่ม Scan ( สแกน) 
ปุ่มนี้จะสแกนเป้าหมายทั้งหมดที่เลือกไว้ หากเลือกปุ่มนี้ระบบจะแทนที่หน้าต่าง เป้าหมายที่สแกน ด้วย บันทึกการสแกน(Scanning log) เพื่อแสดงผลการสแกน นอกจากนี ้ยังสามารถใช้ปุ่ม “Stop” เพื่อหยุดการสแกน หากระบบพบไฟล์ที่ติดไวรัสหรือไฟล์ที่มีแนวโน้มว่าจะติดไวรัสในระหว่างการสแกน ระบบจะจัดเก็บข้อมูลไว้ในไฟล์บันทึกการทำงานโดยจะปรากฏเป็นสีแดง การกำจัดไวรัสในไฟล์ สามารถทำได้โดยใช้ตัวเลือก “Clean” โปรดอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลือกที่ด้านล่าง หรือคลิกขวาที่รายการบันทึกที่มีไฟล์ติดไวรัส จากนั้นเลือกคำสั่ง “Clean” 

- ปุ่ม Clean ( กำจัดไวรัส) 
ปุ่ม “Clean” จะเริ่มสแกนเป้าหมายทั้งหมดที่เลือกไว้พร้อมไปกับการกำจัดไวรัสในเป้าหมายเหล่า 
นั้น การหยุดการดำเนินการนี้ทำได้โดยคลิกที่ปุ่ม “Stop” ขณะสแกนในกรณีที่ระบบพบไวรัส โปรแกรมจะทำงานตามที่ได้กำหนดไว้ในแท็บ “Actions”
- ปุ่ม Quit ( ออก) 
ปุ่มนี้ใช้เพื่อออกจากระบบสแกนตามคำขอ ในกรณีที่มีการแก้ไขโปรไฟล์ในขณะประมวลผลโปรแกรมจะแสดงข้อความแจ้งให้ผู้ใช้จัดเก็บการแก้ไขที่ทำไว้ 
- ปุ่ม Help ( วิธีใช้) 
การเลือกปุ่มนี้จะเป็นการใช้งานระบบช่วยเหลือแบบออนไลน์ หรือทำได้โดยกดปุ่ม F1 

ส่วนล่างซ้ายของหน้าต่างนี้ จะแสดงข้อมูลเวอร์ชันฐานข้อมูลที่ติดตั้งไว้ในเครื่อง ( เช่น 1.560) ตามด้วยวันที่ที่ผู้พัฒนารีลีสระบบนี้ปรากฏอยู่ในวงเล็บ เช่น (20020621) โดยอยู่ในรูปแบบ YYYYMMDD ตามด้วยเวอร์ชันของระบบปฏิบัติการ 

หน้าต่างระบบสแกนของ NOD32 ( ตามคำขอ) ประกอบด้วยแท็บ 5 แท็บ ดังต่อไปนี้ 

- Scanning targets ( เป้าหมายที่สแกน) 
- Scanning Log ( บันทึกการสแกน) 
- Actions ( การดำเนินการ) 
- Setup ( การตั้งค่า) 
- Profiles ( โปรไฟล์) 

1. Scanning targets( เป้าหมายที่สแกน) 
แถบนี้จะแสดงตัวเลือกที่จะให้เลือกสแกนเป้าหมาย ซึ่งจะแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่มคือ ส่วนบนสำหรับการเลือกไดร์ฟ และส่วนล่างสำหรับไฟล์และไดเร็กทอรี 

- Disks ( ดิสก์) 
ในการเลือกไดร์ฟเป้าหมาย ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนไดร์ฟ หากต้องการยกเลือกการเลือก ให้ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอนไดร์ฟที่เลือกไว้ หากต้องการเลือกไดร์ฟทั้งหมดในรายการ ให้คลิกที่ปุ่ม “Select all” แต่ถ้าต้อการยกเลิกไดร์ฟที่เลือกทั้งหมดจากรายการให้คลิกที่ปุ่ม “Deselect all” 
- Directories and files ( ไฟล์ และไดเร็กทอรี) 
หากต้องการเพิ่มหรือลบไฟล์ และไดเร็กทอรีจากรายการของการสแกนเป้าหมาย ให้คลิกที่ปุ่ม “Add” และ “Delete” ตามที่ต้องการ ก่อนที่จะทำการ ลบอ็อบเจ็กต์ ท่านต้องเลื่อนแถบสีมาที่อ็อบเจ็กต์นั้นก่อน การคลิกที่ปุ่ม “Add” จะเปิดหน้าต่างโต้ตอบใหม่ที่มีตัวเลือกดังต่อไปนี้ “OK”, “Cancel”, “Directory…” และ “File…” หากต้องการเลือกไฟล์ หรือไดเร็กทอรี ให้คลิกที่ปุ่มที่เกี่ยวข้อง 
2. Scanning Log ( บันทึกการสแกน) 
บันทึกการสแกนจะปรากฏขึ้นหลังจากระบบสแกนตามคำขอทำงาน ข้อมูลต่างๆ ในการสแกนแต่ละครั้งจะบรรจุอยู่ในบันทึกการสแกน 

บันทึกการสแกนแต่ละรายการ ประกอบด้วยข้อมูลเวอร์ชันที่ติดตั้งอยู่ในระบบสแกน ดังต่อไปนี้ 

วันที่และเวลาในการสแกน 
รายชื่อของไฟล์ที่ติดไวรัส (แสดงเป็นตัวหนังสือสีแดง) 
ไฟล์ที่สแกนไม่ได้ เนื่องจากพบข้อผิดพลาดบางอย่าง ( แสดงเป็นตัวหนังสือสีน้ำเงิน) 

- สถานะการหยุดทำงาน 
- จำนวนไฟล์ที่สแกน 
- จำนวนไวรัสที่พบ 
- เวลาที่หยุดทำงาน 
- เวลาการสแกนรวม 

ในส่วนของหมายเหตุจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับข้อผิดพลาดที่อาจพบได้ในระหว่างการสแกน 

นอกจากไฟล์บันทึกการทำงานแล้ว ท่านยังสามารถใช้งานระบบการจัดการบันทึกการทำงาน และใช้ไฟล์บันทึกการทำงานของระบบสแกน NOD32 ได้ใน NOD32 Control Center โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับข้อมูลการบันทึกอื่นๆ ที่จัดทำโดย NOD32 Control Center ได้ที่ “Logs” 

หากต้องการลบการบันทึก ให้คลิกขวาในหน้าต่างบันทึก แล้วเลือกลบบันทึก การคลิกขวาที่ไฟล์ ที่ติดไวรัสจะทำให้ระบบลบไฟล์ในเมนูป๊อบอัพในทันที ( ในกรณีที่สามารถกำจัดไวรัสได้) 

3. Actions ( การดำเนินการ) 
ในแท็บ Actions นี้ใช้สำหรับการตั้งค่าในกรณีที่โปรแกรมตรวจพบไวรัส ว่าจะให้โปรแกรมดำเนินการอย่างไร เช่น จะให้โปรแกรมทำการลบไฟล์ที่ติดไวรัสทิ้งเสีย หรือจะให้โปรแกรมแจ้งเตือนผู้ใช้ก่อนว่าได้ตรวจพบไวรัส 

สำหรับตัวเลือกด้านล่างนี้ คือหัวข้อว่าถ้าพบไวรัสในส่วนต่างๆ เหล่านี้ จะให้โปรแกรมดำเนินการอย่างไร 

Files ( ไฟล์) 
Boot sector ( บู๊ตเซ็กเตอร์) 
Operating memory ( หน่วยความจำ) 


การดำเนินการที่กระทำได้ มีดังนี้ 

clean ( กำจัดไวรัส) 
notify/offer action (defaut) ( แจ้งเตือน/เสนอการดำเนินการ ( ค่าเริ่มต้น)) 
no action ( ไม่ดำเนินการใดๆ) 
rename ( เปลี่ยนชื่อ) 
delete ( ลบ) 
replace - (for boot sectors only) ( แทนที่ - ( สำหรับบู๊ตเซ็กเตอร์เท่านั้น)) 

หากต้องการบันทึกสำเนาของไฟลที์ติดไวรัส ซึ่งมีการเข้ารหัสไว้ลงในโฟลเดอร์ “Quarantine” ให้ทำเครื่องหมายในช่อง “Quarantine” 

หากการดำเนินการที่เลือกต่างจากค่าเริ่มต้น ข้อความแจ้งเตือนจะปรากฏทางด้านล่างของหน้าต่าง หากต้องการกลับไปใช้ค่าเริ่มต้น สำหรับทุกอ็อบเจ็กต์ ให้คลิกที่ปุ่ม “Default” 

ตัวอย่าง 

หากเลือกที่ปุ่มตัวเลือก “delete” และทำเครื่องหมายช่อง “Quarantine” ระบบจะเข้ารหัสไฟล์แล้วย้ายเข้าสู่โฟลเดอร์กักเก็บก่อนลบไฟล์ต้นฉบับ 

หากเลือกที่ “clean” แต่ไม่สามารถกำจัดได้ NOD32 จะดำเนินการตามที่เลือกไว้ทางด้านขวาของแท็บ( Uncleanable viruses) เป็นอันดับต่อไป 

4. Setup ( การตั้งค่า)
ในแท็บ Setup นี้ใช้สำหรับตั้งค่าต่างๆ ดังนี้ 

- Objects to diagnose ( อ็อบเจ็กต์ที่จะวิเคราะห์) 
ชุดอ็อบเจ็กต์ที่จะวิเคราะห์ เป็นชุดย่อยของเป้าหมายที่สแกน อย่างเช่น หากท่านเลือกไดรฟ์ C: เป็นเป้าหมายที่จะทำการสแกน ระบบจะไม่สแกน ไฟล์บีบอัดหากไม่ได้ทำเครื่องหมายที่ช่อง " Archives" ไว้ หากใช้โปรไฟล์ที่เป็นค่าเริ่มต้น ระบบจะสแกนไฟล์ ( Files), บู๊ตเซ็กเตอร์ ( Boot sectors) และหน่วยความจำ ( Operating memory) นอกจากนี้ยังสามารถเลือก Runtime packers, ไฟล์บีบอัด ( Archives) และไฟล์อีเมล์ได้ ( Email files) 

- Diagnostic methods( วิธีการสแกน)
วิธีการสแกนเป็นคุณสมบัติหลักของระบบป้องกันไวรัส NOD32 ทั้งนี้แนะนำให้เลือกวิธีสแกนทั้งฐานข้อมูลไวรัส( Virus signatures) และกลไก Heuristics การปิดการใช้ งานตัวเลือกใดตัวเลือกหนึ่งจะลดความสามารถในการตรวจจับไวรัส 
ฐานข้อมูลไวรัส คือ ฐานข้อมูลซึ่งระบบอัพเดตแบบอัตโนมัติทำหน้าที่อัพเดตไฟล์ 
กลไก Heuristics คือระบบตรวจจับไฟล์ที่ติดไวรัส โดยไม่เปรียบเทียบไฟล์ที่ตรวจจับได้กับ 
ฐานข้อมูลไวรัส 
- System ( ระบบ) 
กลุ่ม " System" ประกอบด้วยการตั้งค่าคุณสมบัติ 3 คุณสมบัติ ดังนี้ 
List all files( แสดงทุกไฟล์) - หากท่านทำเครื่องหมายที่ช่อง "List all files ์" จะมีผลต่อไฟล์ " Scanning Log" เพราะว่าไฟล์บันทึกการทำงานจะแสดง ไฟล์ทั้งหมดที่สแกนแล้ว รวมถึงไฟล์ที่ไม่ได้ติดไวรัส ท่านอาจไม่เลือกตัวเลือกนี้เพื่อลดการเพิ่มของขนาดไฟล์บันทึกการทำงาน 
Sound alert (สัญญาณเสียง) - จะส่งเสียงแจ้งเตือนหากระบบตรวจพบไฟล์ที่ติดไวรัส 
Use MAPI interface (ใช้ MAPI interface) - การใช้ MAPI interface จะช่วยให้ท่านเข้าดูอีเมล์ของ MS Outlook? ได้ 
- Heuristics sensitivity (การตรวจจับด้วยกลไก Heuristics)
กลไก Heuristics เป็นเครื่องมือที่ดีเลิศในการตรวจจับไวรัสที่ยังไม่เป็นที่รู้จัก โดยแนะนำให้ตั้งค่าพารามิเตอร์เป็น “Standard (มาตรฐาน)” ตัวเลือกที่ใช้ได้ คือ

Safe (แบบปลอดภัย) 
Standard - default (Recommended) (มาตรฐาน - ค่าเริ่มต้น (แนะนำให้ใช้ค่านี้)) 
Deep (แบบลึก) 

-Scanning Log ( บันทึกการสแกน) 
บันทึกการสแกน คือไฟล์ (ตามค่าเริ่มต้น คือ nod32.log) ที่ตั้งอยู่ในไดเร็กทอรีการติดตั้ง NOD32 ท่านสามารถระบุชื่อเฉพาะในแท็บ “Setup” นอกเสียจากว่าปิดการใช้งานบันทึกในแท็บ “Setup” ระบบจะจัดเก็บไฟล์นี้ไว้และสามารถนำมาใช้งานได้แม้ว่าจะออกจากโปรแกรม NOD32 แล้ว นอกจากนี้ยังสามารถระบุขนาดใหญ่สุดของไฟล์ได้ที่นี่ โดยใช้ตัวเลือกดังต่อไปนี้ 
Wrap Log จะช่วยให้การพิมพ์ชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะจะคงความกว้างของ หน้าจอไฟล์ได้อย่างเหมาะสม 
Append ระบบจะเก็บไฟล์เดิมไว้แม้จะเพิ่มไฟล์ใหม่ 
Overwrite ไฟล์ใหม่จะทับไฟล์เดิม 
ส่วนปุ่ม “Extensions” จะเป็นการใช้งานหน้าต่าง “Extensions editor” ส่วนปุ่ม “Advanced” จะเป็นการเปิดหน้าต่าง การตั้งค่าชั้นสูง 

5. Profile
แท็บ “Profile” ใช้สำหรับสร้างหรือเลือกชุดพารามิเตอร์ที่ใช้ในการสแกน ชุดพารามิเตอร์ที่ผู้ใช้กำหนดเองดังกล่าวเรียกว่าโปรไฟล์ ชุดพารามิเตอร์ สำหรับค่ากำหนดทั้งหมดในแท็บต่างๆ ของ NOD32 สามารถเก็บไว้ในโปรไฟล์ หากต้องการบันทึกพารามิเตอร์ที่แก้ไข ให้คลิกที่ปุ่ม “save”

หน้าต่างโปรไฟล์จะแสดงตัวเลือกโปรไฟล์ที่มีอยู่หรือการสร้างโปรไฟล์ใหม่ หากต้องการสร้างโปรไฟล์ใหม่ ให้คลิกที่ “create” 

3.2 การดาวน์โหลดและติดตั้งโปรแกรม บอกขั้นตอนโดยละเอียด 

หากต้องการกำหนดรหัสผ่านเพื่อป้องกันโปรไฟล์และค่ากำหนดทั้งหมด ให้ทำเครื่องหมายในช่องรหัสผ่าน แล้วกลับสู่ NOD32 Control Center เพื่อกำหนด รหัสผ่าน โปรไฟล์ทั้งหมดที่เลือกปกป้องด้วยรหัสผ่านจะใช้รหัสผ่านเดียวกัน โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกหรือแก้ไขรหัสผ่านได้ในหัวข้อรหัสผ่าน NOD32 Control Center 

สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดการข้อความแจ้งเตือนที่ใช้ได้หลังคลิกที่ปุ่ม “Advanced” โปรดดูใน การตั้งค่า Advanced ส่วนการกำหนดให้โปรไฟล์ที่ใช้งานอยู่เป็นค่าเริ่มต้น ให้คลิกที่ปุ่ม “Default”








อ้างอิง http://thaifreewaredownload.blogspot.com/2011/09/eset-nod32-antivirus-.htmlอ้างอิง https://sites.google.com/site/kruyutsbw/5-4-porkaerm-thi-mi-phung-prasngkh
อ้างอิง http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_11.html
อ้างอิง http://www.spywarehelpcenter.com/system-progressive-protection-virus-removal-instructions/?lang=th

วันพฤหัสบดีที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเขียนแผ่น Nero Express

การเขียนแผ่น ซีดี ดีวีดี Nero Express
รวมไฟล์วิดีโอเขียนเป็นวีซีดีส่วนตัว
เป็นการนำไฟล์วิดีโอที่มีอยู่ นำมาเขียนลงแผ่นซีดีทำเป็นวีซีดีส่วนตัว
1. คลิกที่ Video/Picture
2. คลิกปุ่ม Add
3. คลิกเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์วิดีโอ เช่น จากตัวอย่างเก็บไว้ใน TempCDRW
4. คลิกเลือกไฟล์วีดีโอที่ต้องการ
5. เลือกครบแล้วคลิกปุ่ม Add
6. คลิกปุ่ม OK เพื่อเข้ารหัสให้ได้มาตรฐานการทำวีซีดี สำหรับวิดีโอบางไฟล์ที่ไม่ได้มาตรฐาน 
7. เพิ่มครบแล้วก็คลิกปุ่ม Close
8. ไฟล์วิดีโอที่ได้เพิ่มเข้ามา
9. คลิกติ๊กถูก Enable VCD Menu เพื่อให้แสดงเมนูด้วย
10. คลิกชื่อไฟล์วีดีโอ
11. คลิกปุ่ม Properties
12. คลิกแท็ป Menu
13. คลิกช่อง Title พิมพ์ชื่อวีดีโอนั้นๆ ตั้งชื่อตามโอกาสที่ได้ถ่ายวิดีโอเก็บไว้ก็ได้ พอเห็นชื่อ ก็จะนึกออก ว่าเป็นวิดีโอเกี่ยวกับอะไร
14. ลากแถบสไลด์เลื่อนไปยังฉากที่ต้องการ ภาพที่ได้นี้จะถูกนำไปแสดงบนเมนู
15. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม OK
16. ให้ปฏิบัติแบบเดียวกันจนครบทุกไฟล์
17. คลิกปุ่ม Next เพื่อไปยังขั้นตอนการเขียนข้อมูลลงแผ่นซีดี
วีซีดีรวมเพลงคาราโอเกะ
ใครที่ชอบร้องเพลงคาราโอเกะก็สามารถรวมเฉพาะเพลงโปรดมาไว้ด้วยกันได้
1. ใส่แผ่นวีซีดีคาราโอเกะเข้าไป
2. ปกติจะปรากฏหน้าจอแสดงข้อมูลภายในแผ่น ถ้าไม่ปรากฏหน้าจอคล้ายกับตัวอย่าง ก็เข้า โปรแกรม Windows Explorer แล้วคลิกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นซีดีเข้าไป จากนั้นดับเบิ้ลคลิกโฟลเดอร์ชื่อ MPEGAV
3. เลือกไฟล์คาราโอเกะที่ต้องการ ต้องการมากกว่าหนึ่งไฟล์ ก็คลิกไฟล์แรกก่อน กดปุ่ม Ctrl ที่แป้นพิมพ์ค้างไว้ แล้วคลิกเลือกไฟล์ที่ต้องการทั้งหมด ครบแล้วปล่อยปุ่ม Ctrl
4. ชี้ลูกศรที่ไฟล์ใดไฟล์หนึ่งที่ได้เลือกไว้ แล้วคลิกปุ่มขวาของเมาส์เรียกคำสั่งลัด จากนั้นคลิก ที่ Send To>>tempCDRW
5. เข้าโปรแกรม Nero Express
6. คลิก Video/Picture
7. คลิกปุ่ม Add
8. เลือกเพลงในโฟลเดอร์ TempCDRW
9. เพิ่มเพลง เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Close
10. ไฟล์วิดีโอก็จะถูกเพิ่มเข้าไป รอเขียนลงแผ่นซีดี
11. ส่วนไฟล์วิดีโอที่ไม่ได้มาตรฐานของการทำแผ่นวีซีดี ก็เข้ารหัสใหม่โดยคลิกปุ่ม OK
12. ติ๊กถูก Enable VCD Menu แสดงเมนูด้วย
13. ไฟล์วิดีโอที่ถูกเพิ่มเข้ามา คลิกชื่อไฟล์แล้วคลิกปุ่ม Properties เพื่อกำหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ไฟล์วิดีโอนั้นๆ
14. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการเขียนซีดีต่อไป
การปรับแต่งเมนูของ VCD 
เมนูของ VCD จะเป็นส่วนที่ปรากฏ เมื่อใส่แผ่นวีซีดีเข้าไป โดยจะมีรายชื่อวีดีโอให้เลือก เพื่อ ดูเฉพาะวีดีโอที่ต้องการ
เราสามารถปรับแต่งส่วนต่างๆ ได้ 3 ส่วนด้วยกัน
1. Layout เป็นโครงร่างโดยรวมของเมนู เช่นแสดงวิดีโอกี่ภาพในหนึ่งหน้าจอ 
2. Background เป็นส่วนพื้นหลังของเมนู ปรับแต่งได้
3. Text เป็นข้อความที่ปราฏบนเมนู สามารถปรับแต่งได้
4. เมื่อปรับแต่งเสร็จแล้วก็คลิกปุ่ม Show full screen menu เพื่อดูผลงาน
การก็อปปี้แผ่นซีดี
เกี่ยวกับการเขียนซีดี การก็อปปี้แผ่นจะเป็นที่นิยมกันมากที่สุด ปีๆ หนึ่งก็อปปี้กันเป็นล้าน
1. คลิกที่ Image, Project, Copy
2. คลิก Copy Entire CD
3. ในส่วน Source drive ให้คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีต้นฉบับเข้าไป
4. ในส่วน Destination drive ให้คลิกไดรว์ที่ได้ใส่แผ่นเปล่าสำหรับก็อปปี้เข้าไป ถ้าในเครื่อง มีไดรว์เดียว ก็คลิกเลือกชื่อไดรว์ชื่อเดียวกับในช่อง Source drive ถ้าโปรแกรมอ่านข้อมูลในแผ่นต้น ฉบับเสร็จแล้ว ก็จะดีดแผ่นออกมา ก็ใส่แผ่นเปล่าเข้าไปแทน แต่ถ้ามี 2 ไดรว์ ก็จะเขียนข้อมูลลงแผ่น เปล่าที่อยู่ในอีกไดรว์
5. ตัวเลือก Quick copy สำหรับเครื่องที่มี 2 ไดรว์ มีเครื่องเขียน 2 ตัว อาจคลิกเลือกคำสั่ง นี้ ซึ่งจะทำการเขียนลงแผ่นจากต้นฉบับลงแผ่นซีดีโดยตรง ไม่มีการสร้างเป็นอิมเมจไฟล์ไว้ก่อน ผล อาจจะไม่ดีนัก ต้องทดลองเอง
6. ในส่วน Writing speed ถ้าเป็นการก็อปปี้ข้อมูลจำพวก แผ่นเพลงออดิโอ แผ่นวีซีดีให้ เขียนที่ความเร็วน้อยๆ แน่นอนกว่า ช้าหน่อยแต่นำไปใช้กับเครื่องเล่นตามบ้าน แล้วไม่มีกระตุก
7. พร้อมแล้วก็คลิกปุ่ม Copy

หน้าจอและส่วนประกอบต่างๆ
แต่ละเวอร์ชันหน้าตาจะแตกต่างกันเล็กน้อยขึ้นอยู่กับตัวไรเตอร์ในเครื่อง ถ้าเป็นเครื่อง ที่มี เครื่องเขียนซีดีอย่างเดียว ก็จะมีเฉพาะคำสั่งเกี่ยวกับการเขียนซีดี แต่ถ้ามีเครื่องเขียนดีวีดีด้วยก็จะมี คำสั่งสำหรับเขียนข้อมูลลงแผ่นดีวีดีดังตัวอย่าง
1. Switch to Nero Burning Rom สับเปลี่ยนหน้าจอไปยังโปรแกรม Nero Burning ROM
2. Options ตัวเลือกสำหรับการกำหนดเพิ่มเติมในการใช้งานโปรแกรม
3. Copy Audio CD Tracks ก็อปปี้เพลงในแผ่นซีดีเพลงเป็นไฟล์แบบ Wav, Mp3, Mp4
4. Erase Disc ลบข้อมูลในแผ่นแบบ CD-RW หรือ DVD-/+RW
5. Disc Info แสดงข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดิสก์
6. Create Covers and Labels ออกแบบปกซีดี ดีวีดี
7. Select the Recorder to burn on เลือกเครื่องเขียนที่ต้องการ กรณีมีมากกว่าหนึ่งตัว
8. Use Nero Image Recorder เรียกใช้งานโปรแกรมสร้างอิมเมจไฟล์
9. ปุ่มย่อคำสั่งเก็บไว้
10. ปุ่มซ่อน/แสดงคำสั่ง
11. Data เขียนซีดีข้อมูล
12. Music เขียนแผ่นซีดีเพลง เกี่ยวกับเสียง
13. Videos/Pictures ตัวเลือกเกี่ยวกับการเขียนแผ่นวีดีโอซีดีหรือดีวีดี
14. Image, Project, Copy ตัวเลือกสำหรับการสร้างไฟล์อิมเมจ การคัดลอกข้อมูลในแผ่น ซีดีหรือดีวีดี
การสร้างอิมเมจไฟล์ด้วย Nero Express
จะเป็นการก็อปปี้ข้อมูลในแผ่นซีดีซึ่งอาจเป็นแผ่นซีดีเพลง แผ่นหนัง แผ่นข้อมูล ฯลฯ เป็น อิมเมจไฟล์ไว้ในเครื่อง แต่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างอิมเมจไฟล์แบบใดก็ตาม หลักการคล้ายกัน คือคลิกเลือก เครื่องเขียนซีดีให้เป็น Image Recorder เสร็จแล้วก็ต้องคลิกเลือกเครื่องเขียนซีดีตามปกติ
1. คลิกเลือก Use New Image Recorder
2. คลิก Image, Project, Copy
3. คลิกที่ Copy Entire CD
4. คลิกเลือกไดรว์ที่ใส่แผ่นซีดีต้นฉบับไว้
5. เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Copy เริ่มสร้างอิมเมจไฟล์
6. จะปรากฏกรอบข้อความ ให้ตั้งชื่อไฟล์ พิมพ์ชื่อลงไป แล้วคลิกปุ่ม Save หลังเสร็จขั้นตอน การสร้าง ก็จะได้ไฟล์แบบ nrg

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

วิวัฒนาการของหน่วยประมวลผล

                วิวัฒนาการของหน่วยประมวลผล

ซีพียู (CPU) หรือ Central Processing Unit  หมายถึง หน่วยประมวลผลกลางหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor)” เป็นอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล ตามชุดคำสั่งที่มาจากซอฟต์แวร์ ตัวของซีพียูนั้น มีลักษณะเป็นชิป (Chip) ตัวเล็กๆ ซึ่งภายในบรรจุทรานซิสเตอร์จำนวนหลายล้านตัว ต่อเข้าเป็นวงจรอิเล็คทรอนิคส์จำนวนมหาศาล มีหน้าที่คำนวณตัวเลขจากชุดคำสั่งที่ผู้ใช้ป้อนโปรแกรมเข้าไป โดยซีพียูจะทำการอ่านชุดคำสั่งมาแปลความหมาย และทำการคำนวณ เมื่อได้ผลลัพธ์ก็จะส่งผลลัพธ์ออกไปแสดงผลทางหน้าจอ ซีพียู จึงเปรียบได้กับ สมอง” ของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่ควบคุมการปฏิบัติงานหลักของเครื่อง ทำหน้าที่ในการคำนวณ ประมวลผล และควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบ ประกอบด้วยหน่วยย่อย หน่วย คือ หน่วยความจำหลัก หน่วยคณิตศาสตร์และตรรกะหรือหน่วยคำนวณ และหน่วยควบคุม อีกทั้งยังควบคุมการทำงานของอุปกรณ์อื่นๆ ในระบบอีกด้วย

ตำแหน่งของหน่วยประมวลผล

               ผู้ใช้คอมพิวเตอร์หลายคนเข้าใจผิด และเรียกเคสคอมพิวเตอร์ทั้งเคสว่าซีพียู ซึ่งอันที่จริงแล้ว ซีพียูเป็นชิปตัวเล็กๆ รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และมีขาจำนวนมาก ให้ลองสังเกตในเมนบอร์ด บริเวณตรงจุดที่มีพัดลม และแผ่นโลหะระบายความร้อน หรือ ฮีตซิงค์ ติดทับอยู่นั่นคือ ตำแหน่งของ “CPU” กล่าวคือ เมื่อเปิดฝาเคส จะเห็นว่าอุปกรณ์หลักๆ มีอยู่ไม่กี่ชิ้น แต่จะมีแผงวงจรหลายวงจร เรียกว่า เมนบอร์ด ซีพียูจะวางอยู่บนเมนบอร์ด ตรงที่มีพัดลมและแผ่นโลหะระบายความร้อน เรียกว่า ฮีตซิงค์ (Heatsink) วางทับอยู่ ส่วนนั้นคือ ซีพียู จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ทำมาจากวัสดุประเภทเซรามิค ภายในจะบรรจุด้วยวงจรทรานซิสเตอร์ ซึ่งมีขนาดเล็กเป็นล้านตัว ภายใต้ตัวซีพียู จะมีเหล็กแหลมๆ คล้ายกับเข็มเป็นจำนวนมากส่วนนี้เรียกว่า ขาของซีพียู ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับอุปกรณ์ต่างๆ

ตำแหน่งของ CPU
วิวัฒนาการของหน่วยประมวลผล
แบ่งตามยุคสมัย ออกเป็น ยุค ดังนี้
 ยุคที่ 1 บริษัท IBM ได้ผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคลขึ้นมา และได้เลือกใช้ซีพียู 8088 และ 8086 ของบริษัท Intel เครื่องคอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM เป็นที่แพร่หลายจนมีผู้ผลิตเครื่องเลียนแบบออกมามากมายที่ใช้ซีพียูรุ่นนี้ ซึ่งเป็นของบริษัท Intel
ซีพียูรุ่น 8086
            ยุคที่ 2 ยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ซีพียูตระกูล 286 ซึ่งยุคนี้ซีพียูจะมีความเร็วสูงสุดเพียง 20 MHz
 
ซีพียูรุ่น 286
            ยุคที่ 3 ยุคของซีพียูตระกูล 386 เริ่มมีการใช้หน่วยความจำแคชทำงานร่วมกับซีพียู เป็นผลให้ซีพียูในตระกูล 386 มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้นกว่าในรุ่น 286
ซีพียูรุ่น 386
            ยุคที่ 4 ยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลาย ซีพียูตระกูล 486 จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้ใช้งานในระดับองค์กร และรวมไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ภายในบ้าน
ซีพียูรุ่น 486
            ยุคที่ 5 เริ่มมีการตั้งซื่อของซีพียู แทนที่จะเรียกชื่อเป็นตัวเลขเช่นเดิม เริ่มจากบริษัทIntel ตั้งชื่อซีพียูว่า “Pentium” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาโรมันซึ่งแปลว่า ห้า  บริษัท AMDก็ตั้งชื่อของตนว่า “K5”
ซีพียูรุ่น Pentium
            ยุคที่ 6 ซีพียูยังคงเป็น Pentium แต่มีความเร็วในการประมวลผลมากขึ้น ใช้ชื่อว่า“Pentium II” ทาง AMD ก็ได้ผลิตซีพียูโดยใช้ชื่อว่า “K6” ออกมา หลังจากนั้นก็มีซีพียูของทั้งสองค่ายผลิตออกมาอีกหลายรุ่นด้วยกันไม่ว่าจะเป็น Celeron , Pentium III Coppermineและ AMD K6-3
ซีพียูรุ่น Pentium II และ K6
            ยุคที่ 7 ยุคปัจจุบัน ความเร็วของซีพียูได้เพิ่มขึ้นอย่างมากจนทะลุหลักถึง 1 GHzสาเหตุที่มีความเร็วขึ้นมาก อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตที่ออกแบบให้ซีพียูมีขนาดเล็กลงนั่นเอง ซีพียูในยุคนี้ได้แก่ Athlon , Duron ที่ ผลิตโดย  AMD และ Pentium 4 ที่ผลิตโดยIntel
ซีพียูรุ่น Pentium 4 และ  AMD Duron
องค์ประกอบของ CPU
            วงจรในหน่วยประมวลผลกลางเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ (Microprocessor)” ซึ่งเป็นชิปที่ทำจากซิลิกอน ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 หน่วย ดังนี้
1. หน่วยควบคุม (Control Unit)
            หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผล และการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายในหน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้นๆ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูลและชุดคำสั่งดังกล่าว จะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจากชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของคำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่งสัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์ดแวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้นๆ เช่น ถ้าคำสั่งที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะ ก็จะไปทำการดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผลตามคำสั่ง แล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยควบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง เปรียบเสมือนสมองที่ควบคุม การทำงานส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกายมนุษย์ เช่น แปลคำสั่งที่ป้อน ควบคุมให้หน่วยรับข้อมูลรับข้อมูลเข้ามาเพื่อทำการประมวลผล ตัดสินใจว่าจะให้เก็บข้อมูลไว้ที่ไหน ถูกต้องหรือไม่ ควบคุมให้ ALUทำการคำนวณข้อมูลที่รับเข้ามา ตลอดจนควบคุมการแสดงผลลัพธ์ เป็นต้น โดยพื้นฐานทั่วไป ส่วนควบคุมจะทำงานเป็น จังหวะ คือ
            1. รับคำสั่ง ในจังหวะแรกนี้ ชุดคำสั่งจะถูกดึงจากส่วนความจำเข้าสู่ส่วนควบคุมแล้วแยกออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นรหัสคำสั่ง จะแยกไปยังส่วนที่มีชื่อเรียกว่า วงจรสร้างสัญญาณ
(decoder) เพื่อเตรียมทำงานในจังหวะที่สอง และส่วนที่เป็นออเพอแรนด์ จะแยกออกไปยังวงจรอีกส่วนหนึ่ง เพื่อปฏิบัติให้เสร็จสิ้นในจังหวะแรก แล้วเตรียมพร้อมที่จะทำงานในจังหวะต่อไปเมื่อได้รับสัญญาณควบคุมส่งมาบังคับ
            2. ปฏิบัติ เมื่อจังหวะแรกได้เสร็จสิ้นไปแล้ว วงจรควบคุมจะสร้างสัญญาณขึ้นเพื่อส่งไปควบคุมส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ตามรหัสคำสั่งที่ได้รับมา เช่น การบวก ลบ คูณ หาร หรือย้ายข้อมูล เครื่องคอมพิวเตอร์หลายแบบใช้วงจรควบคุม ที่เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างเสร็จเรียบร้อยติดไว้ในเครื่อง เครื่องคำนวณจะเก็บสัญญาณควบคุมเหล่านี้ไว้ในส่วนความจำพิเศษที่เรียกว่า รอม (ROM)”
2. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU)
            หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Arithmetic operations) เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ (Logical operations) หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไขนั้นเป็นจริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็นคำสั่งต่อไป โดยอาศัยตัวปฏิบัติการพื้นฐาน 3 ค่า คือ
·       เงื่อนไขเท่ากับ (= , Equal to condition)  
·       เงื่อนไขน้อยกว่า (< , Less than condition)  
·       เงื่อนไขมากกว่า (> , Greater than condition)
สำหรับตัวปฏิบัติการทางตรรกะ สามารถนำมาผสมกันได้ทั้งหมด 6 รูปแบบ คือ
·       เงื่อนไขเท่ากับ (= , Equal to condition)
·       เงื่อนไขน้อยกว่า (< , Less than condition)
·       เงื่อนไขมากกว่า (> , Greater than condition)
·       เงื่อนไขน้อยกว่าหรือเท่ากับ (<= , Less than or equal condition)
·       เงื่อนไขมากกว่าหรือเท่ากับ (>= , Greater than or equal condition)
·       เงื่อนไขน้อยกว่าหรือมากกว่า (< > , Less than or greater than condition) ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่มีค่า คือ ไม่เท่ากับ (not equal to)” นั่นเอง
อีกทั้งยังแบ่งเป็นวงจรได้ ชนิด คือ
1. วงจรตรรกะจัดหมู่ (combination logic) เป็นวงจรที่ให้สัญญาณผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสภาวะของสัญญาณที่ป้อนเข้าเท่านั้น วงจรนี้จึงไม่สามารถเก็บสัญญาณไว้ได้
2. วงจรตรรกะจัดลำดับ (sequential logic) เป็นวงจรที่มีสัญญาณผลลัพธ์ขึ้นอยู่กับสัญญาณป้อนเข้า และขึ้นอยู่กับสภาวะเดิมของสัญญาณผลลัพธ์ วงจรนี้มีคุณสมบัติที่สามารถเก็บสัญญาณ หรือความจำไว้ได้ แต่เมื่อเลิกทำงานไฟฟ้าที่ไปเลี้ยงวงจรเหล่านี้ สัญญาณหรือความจำจะสูญหายไป เช่น วงจรฟลิปฟล็อป (flip-flop) วงจรนับ (counter) วงจรชิฟต์รีจิสเตอร์ (shiftregister)
3. วงจรบวก คือ วงจรที่ทำหน้าที่บวกเลขฐานสอง โดยอาศัยวงงจรตรรกะเข้ามาประกอบเป็นวงจรบวกครึ่ง (half adder ; H.A.) ซึ่งจะให้ผลบวก และการทดออก Co เมื่อนำเอาวงจรบวกครึ่งสองวงจรกับเกตหนึ่งวงจรมารวมกันเป็นวงจรบวกเต็ม โดยมีการทดเข้า ทดออก และผลบวก
4. วงจรลบ คือ วงจรที่ทำหน้าที่คล้ายวงจรบวก โดยใช้วงจรอินเวอร์เทอร์เข้าเปลี่ยนเลขตัวลบให้เป็นตัวประสม 1 (1's complement) คือเปลี่ยนเลข “0” เป็น “1” หรือ “0” เป็น“0” แล้วนำเข้าบวกกับตัวตั้งจึงจะได้ผลลบตามต้องการ
5. วงจรคูณและหาร การคูณสามารถทำได้ด้วยการบวกซ้ำๆ กัน และการหารสามารถทำได้ด้วยการลบซ้ำๆ กัน ดังนั้น การคูณ คือ การจัดให้วงจรบวกทำการบวกซ้ำๆ กัน ส่วนการหารก็คือ การจัดให้วงจรลบทำการลบซ้ำ นอกจากหลักการดังกล่าวแล้ว อาจจะใช้อีกหลักการหนึ่ง คือ การคูณหารบางประเภทสามารถทำได้โดยการเลื่อนจุดไปทางซ้ายหรือขวา เช่น 256.741 X 100 = 25674.1 หรือ 256.741 / 100 = 2.56741 เป็นต้น ส่วนเลขฐานสองที่คอมพิวเตอร์ใช้ก็ทำได้ในทำนองเดียวกัน
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
            คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความจำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลังจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
·       หน่วยความจำสำหรับเก็บคำสั่ง (Program Memory)
·      หน่วยความจำสำหรับเก็บข้อมูลและคำสั่ง (Data & Programming Memory)
การทำงานขององค์ประกอบของ CPU


หน้าที่ของหน่วยประมวลผล

               หน่วยประมวลผลกลางมีหน้าที่ประมวลผลข้อมูลต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์  โดยหน่วยประมวลผลกลางจะทำงานตามโปรแกรมที่ระบุโดยผู้ใช้  ขั้นตอนการทำงานของหน่วยประมวลผลกลางมีลักษณะเป็นวงรอบ โดยขั้นแรกหน่วยประมวลผลกลางจะอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำ (fetch) จากนั้นหน่วยประมวลผลกลางจะตีความคำสั่งนั้น (decode)  และในขั้นตอนสุดท้ายหน่วยประมวลผลกลางก็จะประมวลผลตามคำสั่งที่อ่านเข้ามา (excute)  เมื่อทำงานเสร็จหน่วยประมวลผลก็จะเริ่มอ่านคำสั่งเข้ามาอีกครั้ง
            การทำงานของหน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยการคำนวณทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน เช่น การบวก ลบ คูณ หาร การเปรียบเทียบข้อมูลสองจำนวน การควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูลในส่วนต่างๆ ของระบบ เช่น เคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างอุปกรณ์รับข้อมูล อุปกรณ์แสดงผลกับหน่วยความจำ เป็นต้น



กระบวนการและกลไกการทำงานของหน่วยประมวลผล

1. กระบวนการทำงานพื้นฐานของหน่วยประมวลผล แบ่งเป็น ขั้นตอน ดังนี้
            1. อ่านชุดคำสั่ง (fetch)
·       Fetch การอ่านชุดคำสั่งขึ้นมา 1 คำสั่งจากโปรแกรม ในรูปของรหัสเลขฐานสอง (Binary Code from on-off of BIT)
            2. ตีความชุดคำสั่ง (decode)
·       Decode การตีความ 1 คำสั่งนั้นด้วยวงจรถอดรหัส (Decoder circuit)ตามจำนวนหลัก (BIT) ว่ารหัสนี้จะให้วงจรอื่นใดทำงานด้วยข้อมูลที่ใด
            3. ประมวลผลชุดคำสั่ง (execute)
·       Execute การทำงานตาม 1 คำสั่งนั้น คือ วงจรใดในไมโครโปรเซสเซอร์ทำงาน เช่น วงจรบวก วงจรลบ วงจรเปรียบเทียบ วงจรย้ายข้อมูล ฯลฯ
            4. อ่านข้อมูลจากหน่วยความจำ (memory)
·       Memory การติดต่อกับหน่วยความจำ การใช้ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยจำชั่วคราว (RAM , Register) มาใช้ในคำสั่งนั้นโดยอ้างที่อยู่ (Address)
            5. เขียนข้อมูล/ส่งผลการประมวลกลับ (write back)
·       Write Back การเขียนข้อมูลกลับ โดยมีหน่วยจำ Register ช่วยเก็บที่อยู่ของคำสั่งต่อไป ภายหลังมีคำสั่งกระโดดบวกลบที่อยู่

2. กลไกการทำงานของหน่วยประมวลผล
          หน่วยประมวลผลกลางจะทำงานตามชุดคำสั่ง (instructions)  ที่อ่านขึ้นมาจากหน่วยความจำหลักเท่านั้น จะเรียกสถาปัตยกรรมของระบบคอมพิวเตอร์ที่มีการเก็บโปรแกรม และข้อมูลไว้ในหน่วยความจำหลัก โดยที่หน่วยประมวลผลจะทำงานกับหน่วยความจำเท่านั้น ว่า Stored Program Architecture  หรือ คอมพิวเตอร์แบบวอนนอยแมน(von Neumann Computer) โดยตั้งเป็นเกียรติให้กับ “John von Neumann”
            ชุดคำสั่งของคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะประกอบด้วยส่วนย่อยๆ 2 ส่วน คือ  ส่วนOpcode ซึ่งเป็นส่วนที่ระบุประเภทของการประมวลผล  และส่วน Operand  ซึ่งเป็นส่วนที่ระบุข้อมูลสำหรับการประมวลผลตามที่ระบุใน opcode
            โดยปกตินิยมใช้ไมโครโปรเซสเซอร์ ทำหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ในระบบคอมพิวเตอร์  ดังนั้น การอ้างถึงไมโครโปรเซสเซอร์จะอ้างถึงในหน้าที่ที่เป็นหน่วยประมวลผลกลาง   โดยคำสองคำนี้อาจใช้แทนกันได้ มีกลไกที่สำคัญ ดังนี้
            1. การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
            2. การทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วนๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น


ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของหน่วยประมวลผล

               ความเร็วของซีพียู (Speed) มีหน่วยวัดเป็น เมกกะเฮิรตซ์ (MHz : MegaHertz) ถ้ามีค่าตัวเลขยิ่งสูง แสดงว่ามีความเร็วมาก ปัจจุบันความเร็วที่ถือว่าใช้งานได้ดีจะอยู่ระหว่าง2,000 - 3,000 MHz คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
·       รีจิสเตอร์
·       หน่วยความจำภายนอก
·       สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle) คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณต่อวินาที ซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz)
·       บัส
·       หน่วยความจำแคช
·       Passing Math Operation


ประเภทของหน่วยประมวลผล

               ซีพียูของแต่ละบริษัท แต่ละรุ่นจะมีรูปร่าง    ลักษณะโครงสร้าง และจำนวนขาไม่เหมือนกัน  จากความแตกต่างกันนี้ ซีพียูแต่ละตัวจึงใช้เมนบอร์ดไม่เหมือนกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ซีพียู สำหรับเครื่องพีซี แบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้
            1ซีพียู แบบ Cartridge ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นตลับแบนๆ ห่อหุ้มด้วยกล่องพลาสติกสี่เหลี่ยมด้านล่างจะเป็นแผงขาสัญญาณของซีพียู   สำหรับเสียบลงในช่องแบบ สล๊อต (Slot) ซีพียูแบบนี้มีชื่อเรียกกันโดยทั่วไปว่าแบบ “SECC” (Single Edde Connector Cartridge)  
              2.  ซีพียู แบบ PGA  ซีพียูแบบนี้รูปร่างเป็นชิปแบนๆ มีขาจำนวนมากอยู่ใต้ตัวซีพียู สำหรับเสียบลงในช็อกเก็ตจึงเรียก ว่า “PGA”


โครงสร้างของหน่วยประมวลผล

แบ่งเป็นหน่วยต่างๆ ตามหน้าที่ ดังนี้
            1. Bus Interface Unit เป็นหน่วยที่นำคำสั่งจากแรม มายังหน่วยพรีเฟตช์
            2. Prefetch Unit เป็นหน่วยเก็บคำสั่งไว้ในที่พักข้อมูลแล้วส่งไปที่หน่วยถอดรหัส
            3. Decode Unit เป็นหน่วยที่แปลคำสั่งเพื่อนำไปประมวลผล
            4. Execution Unit เป็นหน่วยที่ทำการประมวลผลประกอบด้วย ส่วนใหญ่ๆ คือ
·       Control Unit เป็นหน่วยควบคุมการสั่งการให้ข้อมูลเป็นไปตามลำดับที่กำหนดไว้
·       Protection Test Unit เป็นหน่วยตรวจสอบความผิดพลาด (Error)
·       Registers เป็นหน่วยความจำใช้เก็บข้อมูลชั่วคราวขณะที่ทำการประมวลผล
·       Arithmetic Logic Unit (ALU) เป็นหน่วยคำนวณและตรรกะ

ชนิดของหน่วยประมวลผล
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้
           แบบที่ 1 ซ็อกเก็ต (Socket)
           ซีพียูประเภทนี้ จะบรรจุอยู่ในรูปแบบที่เป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ทำด้วยพลาสติกหรือเซรามิก หากมองด้านบนตัวของซีพียูจะพบตัวอักษรที่เป็นรายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ ,ความเร็ว รุ่น ค่าแรงไฟ ค่าตัวคูณ และอีกหลายๆ อย่าง ซีพียูแบบซ็อกเก็ตจะมีการพัฒนาหลายๆแบบ หลายๆรุ่นด้วยกันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้ซีพียูของค่ายดังอย่างอินเทล จะมี รุ่นหลักๆ ได้แก่ 8086 , 8088 , 80286 , 80386 , 80486 , Pentium , Pentium MMX
ลักษณะของซ็อกเก็ต (Socket)
           แบบที่ 2 สล็อต (Slot)
           ซีพียูแบบนี้จะมีสถาปัตยกรรมที่ดูน่าเชื่อถือมาก เป็นการพัฒนาออกมาแบบแตกต่างจากซีพียูในอดีตโดยสิ้นเชิง มีลักษณะเป็นแผ่นวงจรสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ มีพลาสติกสีดำ หุ้มห่อไว้เป็นตลับ ได้แก่ Pentium Celeron บางรุ่น , Pentium II , Pentium III บางรุ่นซีพียูของ ค่ายเอเอ็มดี ได้แก่ Athlon (K7)
ลักษณะของสล็อต (Slot)

บริษัทผู้ผลิต CPU

               1. Intel จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซีพียูค่ายนี้มักจะมีเทคโนโลยีการผลิต และความเร็วเหนือซีพียูจากค่ายอื่นๆ โดยซีพียูตระกูลแรกที่ใช้หมายเลขแสดงรุ่น มักจะถูกซีพียูจากค่ายอื่นเลียนแบบ โดยใช้คำว่า PR (Pentium Rate)  ตามด้วยความเร็วซีพียูเป็น MHzเนื่องจากกฎหมายลิขสิทธิ์ไม่
คลอบคลุมถึงตัวเลข ดังนั้นในรุ่นต่อมาอินเทล  จึงเปลี่ยนไปเรียกชื่อแทนการใช้เลขมี ดังนี้Pentium , Pentium MMX , Pentium Pro , Pentium III , Celeron , Pentium II , Pentium 4


                  2. AMD เป็นผู้ผลิตซีพียูเพียงรายเดียวของโลกที่สามารถผลิตซีพียู แข่งกับอินเทลได้ใกล้เคียงกันซึ่งอินเทล มักเป็นผู้นำทางด้านความเร็วและประสิทธิภาพ ส่วน AMDเน้นในเรื่องราคาที่ถูกกว่าในประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกัน จึงทำให้ผู้ใช้เริ่มหันมาซื้อซีพียูของAMD กันมากขึ้นโดยซีพียูรุ่นแรกๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้กับ AMD คือรุ่น K5 , K6 ส่วนรุ่น K7หรือ  Athlon นั้นเป็นรุ่นแรกที่ AMD สามารถผลิตให้มีความเร็วและประสิทธิภาพเหนือกว่าIntel


รุ่นต่างๆ ของหน่วยประมวลผล

1. บริษัท Intel
·       ซีพียูตระกูล Celeron D
·       ซีพียูตระกูล Pentium 4
·       ซีพียูตระกูล Pentium D
·       ซีพียูตระกูล Pentium Extreme
·       ซีพียูตระกูล Pentium Dual Core
·       ซีพียูตระกูล Core 2 Duo
2. บริษัท AMD
·       ซีพีรุ่น K5
·       ซีพีรุ่น K6
·       ซีพีรุ่น K6-2
·       ซีพีรุ่น Sharptooth (K6-III)
·       ซีพีรุ่น K6-2+
·       ซีพีรุ่น K6-III+
·       ซีพีรุ่น K7 / Athlon
·       ซีพีรุ่น Argon
·       ซีพีรุ่น Palomino (Athlon)
·       ซีพีรุ่น Thunderbird (Athlon)
·       ซีพีรุ่น Thoroughbred (Athlon)
·       ซีพีรุ่น Barton (Athlon)
·       ซีพีรุ่น Spitfire (Duron)
·       ซีพีรุ่น Duron
·       ซีพีรุ่น Morgan (Duron)
·       ซีพีรุ่น Appoloosa (Duron)
·       ซีพีรุ่น Mustang
·       ซีพีรุ่น SledgeHammer
·       ซีพีรุ่น ClawHammer

แนวโน้มอนาคตของ CPU

1. แนวโน้มการพัฒนาซีพียูในอนาคต
            เทคโนโลยีการผลิตซีพียูที่วันนี้ทำได้เล็กเพียงแค่ 0.13 ไมครอน ถึงแม้ว่าอนาคตอันใกล้จะลดขนาดลง เหลือ 0.09 ไมครอน ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าการพัฒนาในครั้งต่อไปจะยังทำได้ยาก หากแต่การพัฒนาในขณะนี้บริษัทผู้ผลิตซีพียูไม่ว่าจะเป็นยักษ์ใหญ่อย่างอินเทล และยักษ์เล็ก คือ เอเอ็มดี ต่างก็พยายามมองหาสถาปัตยกรรมการออกแบบภายในให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยจะเน้นการพัฒนาคล็อก หรือสัญญาณนาฬิกาให้สูงๆ เข้าไว้ แนวโน้มการพัฒนาซีพียูในปัจจุบัน เริ่มจะเน้นไปที่ตลาดไร้สายมากขึ้น เพราะนับจากนี้เป็นต้นไปเป็นยุคของ Mobile Life ที่อุปกรณ์ทุกอย่างต้องสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลกก็ตาม
2. ความเร็วของซีพียู
            ความเร็วของซีพียูจะขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะการทำงาน หรือ วงจรกำเนิดสัญญาณนาฬิกา ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณให้กับส่วนต่างๆ เพื่อให้แต่ละส่วนมีการทำงานที่เป็นจังหวะ และจะมีการทำงานที่สัมพันธ์กัน นอกจากนั้นยังแสดงถึงความเร็วในการประมวลผลอีกด้วย เรียกสัญญาณนาฬิกานี้ว่า “Clock” ซึ่งสัญญาณนาฬิกานี้ก็ คือ ความถี่ในการส่งสัญญาณของแหล่งกำเนิดไปยังส่วนต่างๆ ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นจำนวนรอบต่อวินาทีที่เราเรียกกันว่าเฮิรตซ์” (Hz) โดยความเร็วซีพียูจะมีหน่วยเป็นเมกะเฮิรตซ์ (MHz–ระดับล้านครั้งต่อวินาที) แต่ในปัจจุบันนี้ซีพียูมีความเร็วขยับขึ้นสูงถึงระดับ กิกะเฮิรตซ์ (GHz–ระดับพันล้านรอบต่อวินาที) หากมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาสูง แสดงว่าสามารถประมวลผลได้ที่ความเร็วสูง
3. สถาปัตยกรรมซีพียู
            1. สถาปัตยกรรมแบบ CISC : Complex Instruction Set Computing เป็นสถาปัตยกรรมการออกแบบซีพียูที่ใช้ในเครื่องพีซียูทั่วๆไป จะใช้วิธีการเพิ่มขีดความสามารถของคำสั่งทำให้คำสั่งหนึ่งต้องทำงานเพิ่มขึ้นและซับซ้อนขึ้น ด้วยวิธีนี้ทำให้สถาปัตยกรรมของตัวซีพียูต้องสนับสนุนชุดคำสั่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น ประกอบกับไซเคิล (Cycle) การทำงานของแต่ละคำสั่งจะใช้จำนวนไซเคิลไม่เท่ากัน บางคำสั่งทำงานเสร็จภาคในไซเคิลเดียว บางคำสั่งต้องใช้หลายไซเคิล ความคิดนี้จึงกลายมาเป็นคอมพิวเตอร์ในกลุ่ม CISC และความคิดนี้ได้พัฒนาต่อเนื่องมาเป็นลำดับจนถึงปัจจุบัน จะมีการออกแบบวงจรภายในที่ซับซ้อน แต่ง่ายกับโปรกแกรมเมอร์ในการเรียนรู้คำสั่ง เพราะการประมวลผลทั้งหมดจะกระทำในตัวซีพียูเอง
            2. สถาปัตยกรรมแบบ RISC : Reduces Instruction Set Computing ซีพียูทำงานด้วยไซเคิลที่แน่นอน และลดจำนวนคำสั่งลงให้เหลือคำสั่งพื้นฐานมากที่สุด แล้วใช้หลักการทำงานแบบไปป์ไลน์
(Pipeline) จึงนับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ได้ทำการแก้ปัญหาของ CISC โดยใช้การประมวลผลแบบง่ายๆ แต่หันไปพัฒนาประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์ให้มีความเร็วสูงขึ้น จึงทำงานได้เร็วขึ้นนั่นเอง